สถานศึกษาแนะนำ

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Pohchang Academy Of Arts
Pohchang logo.jpg
ชื่อย่อเพาะช่าง
คติพจน์ระเบียบ หน้าที่ ประเพณี สามัคคี อาวุโส จิตใจ
สถาปนา7 มกราคม พ.ศ. 2456
ประเภทรัฐ
ที่ตั้ง86 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย10200

โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีสี แดง-ดำ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน เพาะช่างเป็นโรงเรียนศิลปะการช่าง ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเอาวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นวันกำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งเป็นวันชุมนุมศิษย์เก่าของทุกปี ปัจจุบันเพาะช่างมีชื่อเต็มคือ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์[1]
คำว่า "เพาะช่าง" ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว [2]ในวาระที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 สืบเนื่องมาจากงานเฉลิมพระชนมพรรษา ในการที่โรงเรียนเพาะช่างได้รับพระราชทานกำเนิดจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นก็เพราะพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [3] ซึ่งทรงห่วงใย ในศิลปะการช่างของไทยจะถูกอิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่หลายเข้าครอบงำ อาจถึงคราวเสื่อมสูญได้ จึงมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงศิลปะการช่างของไทย ให้พัฒนาถาวรสืบไปปัจจุบันเพาะช่างได้เปิดหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ทั้งภาคปกติและภาคสบทบ มีทั้งหมด 4 กลุ่มวิชา คือ ศิลปประจำชาติ ศิลปหัตถกรรม วิจิตรศิลป์ และ ออกแบบ โดยสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสถาบัน ปัจจุบันคือ นายโสภณ จงสมจิต

หลักสูตรและภาควิชา

เปิดการสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ทั้งภาคปกติ และภาคสบทบ (ในบางสาขาวิชา) โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาจะต้องผ่านการสอบเข้าสถาบัน (สอบตรง) โดยผู้มีสิทธิ์สมัครสอบจะต้องจบหลักสูตรขั้นต่ำคือ มัธยมการศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้น (ปวช.) หรือวุฒิการศึกษาใกล้เคียง โดยการสอบจะเป็นข้อสอบวิชาสามัญและวิชาปฏิบัติ เช่น วิชาวาดเส้น, ความถนัดในสาขาวิชาที่จะสอบ และการสอบสัมภาษณ์ ปัจจุบัน วิทยาลัยเพาะช่าง ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ภาควิชาได้แก่ ภาควิชาศิลปประจำชาติ ภาควิชานิเทศน์ศิลป์ ภาควิชาออกแบบ และภาควิชาศิลปสากล
สาขาวิชาที่เปิดสอน (Undergraduate Curriculums)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น